วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

Peter Dennis และโจ ลูกอีสาน กับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ใครคือ อาจารย์ด้านการลงทุน ของ โจ ลูกอีสาน ? - โดย BillionMoney
โจ ลูกอีสาน หรือ คุณอนุรักษ์ บุญแสวง คือนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในวงการตลาดหุ้นไทย 

โดยการสร้างพอร์ตให้เติบโตขึ้นมาเป็น 1,000 ล้านบาท จากเงินต้น 800,000 บาท หลังจากที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นไทยในปี 2543

แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่จะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้นั้น คุณโจก็เคยล้มเหลวอย่างหนักจากการลงทุน 

โดยคุณโจเริ่มลงทุนตั้งแต่ปี 2539 แต่ต้องประสบกับการขาดทุนอย่างหนัก จนทำให้ต้องถอยออกมาจากตลาดหุ้น เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสียก่อน

ในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่นั้น คุณโจก็ได้ไปอ่านบทความหนึ่งของคุณ Peter Dennis เกี่ยวกับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า 

คุณโจเกิดความรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก จนต้องอ่านบทความนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า 
และยังถึงกับยกให้ คุณ Peter Dennis คนนี้ เป็นหนึ่งในอาจารย์ด้านการลงทุนของเขา เลยทีเดียว

แล้วคุณ Peter Dennis ที่เซียนหุ้นพันล้าน อย่างคุณโจ ลูกอีสาน ยกให้เป็นอาจารย์ เป็นใคร ?
BillionMoney จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ

คุณ Dennis คือนักลงทุนชาวออสเตรีย ที่เกษียณตัวเองมาอยู่เมืองไทย ซึ่งเดิมที เขาเคยทำงานเป็นผู้จัดการประจำภูมิภาคในประเทศแถบเอเชีย ของบริษัทค้าขายเหล็กข้ามชาติแห่งหนึ่ง 

โดยตลอดระยะเวลาในการทำงานของเขานั้น เขาก็ได้ไปประจำอยู่ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และไทย 

ซึ่งเวลาที่เขาไปทำงานอยู่ที่ประเทศไหน เขาก็มักจะศึกษาและเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศนั้นด้วย ทำให้เขามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนอยู่มาก

จนในที่สุด หลังจากตระเวนทำงานในประเทศต่าง ๆ มาหลายปี คุณ Dennis ก็ตัดสินใจลาออกจากงาน มาเป็นนักลงทุนอย่างเต็มตัวในปี 2530 

เพราะอยากที่จะเป็นนักลงทุน มากกว่าการเป็นพนักงานบริษัท และเห็นถึงโอกาสในการลงทุน ที่จะได้รับผลตอบแทนมากพอ จนสามารถเลี้ยงตัวเองได้

แต่ด้วยความโชคร้าย หลังจากคุณ Dennis ลาออกมาเป็นนักลงทุนได้ไม่นาน ในเดือนตุลาคม ปี 2530 นั้นเอง ก็เกิดเหตุการณ์ Black Monday ขึ้น

ดัชนี Dow Jones ลดลง 22.6% ภายในวันเดียว ซึ่งถือเป็นการลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดหุ้นทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก คุณ Dennis ก็ยังมองว่า การลงทุนเป็นเกมระยะยาว มากกว่าความผันผวนของตลาดหุ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ 

และเชื่อว่า แม้แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ดี ก็ยังมีหุ้นดี ๆ ให้ลงทุน จึงทำให้คุณ Dennis ยังยึดมั่นกับอาชีพนักลงทุนต่อไป

ต่อมาในปี 2543 ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ตลาดหุ้นไทยซบเซาอย่างหนัก 

ในตอนนั้น คุณ Dennis มองเห็นหุ้นที่มีกิจการดี และมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง แต่กำลังซื้อขายในราคาที่ยังถูก หลายตัว ในขณะที่หุ้นบางตัวยังให้ปันผลมากกว่า 10% 

แต่ในช่วงเวลานั้น นักลงทุนชาวไทยหลายคนกลับไปแห่จองพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนเพียง 6% เท่านั้น

คุณ Dennis จึงรู้สึกหงุดหงิด และไม่เข้าใจว่าทำไมนักลงทุนชาวไทย ถึงไปซื้อสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 6% ทั้ง ๆ ที่มีหุ้นดีที่ให้ผลตอบแทน 10% อยู่เต็มตลาดไปหมด

คุณ Dennis จึงเริ่มเขียนบทความออกมา ในคอลัมน์ 
“ถนนนักลงทุน” ซึ่งมีความยาวรวมกว่า 17 หน้า 

เพราะอยากโน้มน้าวให้นักลงทุนชาวไทย หันมาเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า และยังมีความเสี่ยงที่ไม่สูงนัก อย่างหุ้นที่มีธุรกิจมั่นคง

ซึ่งบทความนี้ก็จุดประกายให้แก่คุณโจ ลูกอีสาน ที่ได้มาอ่าน แล้วเกิดความประทับใจ จนหันมาสนใจศึกษาการลงทุนแบบวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอย่างจริงจังนั่นเอง

แล้วหลักการเลือกหุ้นของคุณ Dennis มีอะไรบ้าง ?

- ค่า ROE สูงกว่า 15% สม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 5 ปีย้อนหลัง
- ค่า P/E ต่ำกว่า 7 เท่า
- รายได้และกำไรเติบโตสม่ำเสมอ
- ค่า D/E ต่ำกว่า 1 เท่า

นอกจากการคัดเลือกหุ้นจากข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว เราก็ยังต้องวิเคราะห์หุ้นนั้นในเชิงคุณภาพด้วย 

โดยเราควรอ่านรายงานประจำปีของแต่ละบริษัท รวมถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทนั้น ด้วยการฟัง Opportunity Day, อ่านข่าวหลักทรัพย์จดทะเบียน และฟังบทสัมภาษณ์ของผู้บริหาร 

ทั้งนี้ คุณ Dennis แนะนำให้เลือกหุ้นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว มาเข้าพอร์ตการลงทุนของเราประมาณ 8 ตัว เพื่อเป็นการกระจายการลงทุน 

อ่านมาถึงตรงนี้ นี่ก็คือเรื่องราวและหลักการลงทุนของคุณ Peter Dennis ชายผู้ที่คุณโจ ลูกอีสาน ยกให้เป็นอาจารย์คนสำคัญคนหนึ่งของเขา..

References
-หนังสือ 16 สูตรสำเร็จรวยด้วยหุ้น เคล็ดลับจาก 9 เซียนหุ้นพันล้าน โดย ตะวัน สุรัติเจริญสุข
-https://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=52912
-http://modinvestor.blogspot.com/2012/12/vi-5.html

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สไตล์การลงทุน

“สไตล์” ลงทุนแต่ละแบบ...เหมาะกับภาวะตลาดที่ “แตกต่างกัน” !!!
.
Where2put Ur Money: มาถึงช่วงครึ่งปีหลัง 2566 กันแล้ว แต่หากเราไปสำรวจพอร์ตลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก ผลตอบแทนของพอร์ตคงเป็นเครื่องสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่ผกผันไปกับปัจจัยการลงทุนต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่า 6 เดือนที่ผ่านมามีปัจจัยและตัวแปรในเชิงลบที่ทำให้ราคาสินทรัพย์มีความผันผวน การจะหาผลตอบแทนที่สอดคล้องกับภาวะตลาด นอกจากการติดตามข่าวสารแล้ว กลยุทธ์ก็มีส่วนสำคัญ แน่นอนว่านักลงทุนแต่ละคนมี “สไตล์” ลงทุนที่แตกต่างหลากหลายกันไป อาจสรุปสไตล์ลงทุนออกมาได้หลักๆ ดังนี้
.
1) ประเภทเน้นเทรดสั้นรายวัน รายสัปดาห์ คือ เล่นสั้นเป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ มีการใช้เครื่องมือทางเทคนิคช่วยเทรด
.
2) ทยอยซื้อสะสมแล้วรอจังหวะทำกำไร เป็นการลงทุนแบบมีวินัย ทยอยซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานดี หรือจะใช้วิธีออมหุ้นแบบ DCA
.
3) ประเภทรอซื้อตอนราคาลงมามากๆ เป็นสไตล์การลงทุนแบบรอซื้อหุ้นดีราคาไม่แพง หรือถือเงินสดรอซื้อจังหวะที่ราคาหุ้นกลับตัว
.
4) แบบเน้นซื้อแล้วถือระยะกลาง-ยาว คือ เลือกซื้อหุ้นที่พื้นฐานดีมีแนวโน้มเติบโตและถือไปประมาณตั้ง 1-3 ปี เพื่อหวังว่าจะได้ผลตอบแทนสูง
.
5) เข้าซื้อตอนตลาดเป็นขาขึ้น (แต่ยังไปไม่สุดทาง) เป็นสไตล์ที่ชอบซื้อหุ้นช่วงตลาดเป็นขาขึ้น เพราะเลือกหุ้นได้ง่าย และพร้อมขายเมื่อราคาหุ้นกลับตัว
.
6) เลือกลงทุนในหุ้นเพื่อรับปันผล เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบเสี่ยง เลยเลือกถือหุ้นที่จ่ายปันผลดีและรอขายทำกำไรถ้าราคาขึ้นไปมาก
.
7) ประเภทลงทุนแบบ Hybrid คือ แบ่งเงินลงทุนในหุ้นเพื่อรับเงินปันผล อีกส่วนลงทุนแบบเน้นเทรดเพื่อทำกำไร
.
“จะเห็นว่ามีหลากหลาย ‘สไตล์’ ลงทุน แต่ไม่ว่านักลงทุนแต่ละคนจะชอบถือถนัดลงทุนแบบใด เมื่อมองมาที่ทิศทางของราคาสินทรัพย์ที่เราลงทุนแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐาน ที่ต้องวิเคราะห์แนวโน้มและประเมินความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ”
.
และหากมองมาที่ประเด็นที่อาจเป็นตัวแปรต่อการลงทุน นอกเหนือจากเรื่องเงินเฟ้อและนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวฯ ยังมีตัวแปรอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพภูมิอากาศโลก เทรนด์ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังเข้าสู่ธุรกิจ เทรนด์การใช้พลังงานสะอาด รวมไปถึง เรื่องภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่เกิดการแบ่งขั้วรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการใช้สกุลเงินต่างๆ ทั้งหมดนี้มีผลเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในเชิงของเทรนด์ที่เปลี่ยนไป
.
ดังนั้นรูปแบบ “สไตล์” ลงทุนแต่ละแบบอาจเหมาะกับภาวะตลาดในรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่เรื่องของการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา การเลือกกลยุทธ์ลงทุนควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลที่มากพอ การมีวินัย การประเมินความเสี่ยง รวมถึงการวางแผนและวัตถุประสงค์การลงทุน คือสิ่งสำคัญของการลงทุนที่ประสบความสำเร็จได้

#Where2putUrMoney #สไตล์ลงทุน #WealthyThai

วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

อายัดทรัพย์ปม STATK

ก.ล.ต.สั่งอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำผิดที่ถูกกล่าวโทษปม STARK รวม 10 ราย พร้อมห้ามออกนอกราชอาณาจักรไว้เป็นการชั่วคราว 15 วัน
#Kaohoon #ข่าวหุ้น #STARK #สตาร์คคอร์เปอเรชั่น

หุ้นไทยเจ็บหนัก ครึ่งปีแรก2566

ครึ่งแรกปี 66 ไทยแลนด์เจ็บหนัก!
ต่างชาติเทขายหุ้นมากสุดในภูมิภาค
.
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาปัจจัยกดดันจากภายนอกและภายใน ทั้งแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และความไม่แน่นอนจากการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ฯลฯ กดดันให้เม็ดเงินลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง
.
วันนี้ Wealthy Thai จึงมีสรุปข้อมูลตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ว่า 9 ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะมีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าและไหลออกประเทศไหนมากที่สุด
.
โดยบทวิเคราะห์ของบริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันตลาดหุ้นไทยโดนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 3,107 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มประเทศภูมิภาค รองลงมาคือ ตลาดหุ้นมาเลเซีย นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 887 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถัดมาคือ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 467 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ ตลาดหุ้นเวียดนาม ที่โดนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
.
ขณะเดียวกันตลาดหุ้นญี่ปุ่น มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติรวมทั้งสิ้น 45,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นตลาดหุ้นที่มีสถานะเป็นซื้อสุทธิมากที่สุด รองลงมาคือ ตลาดหุ้นไต้หวัน นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 11,247 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถัดมาคือ ตลาดหุ้นอินเดีย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 9,722 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมาคือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 7,944 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สุดท้าย ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
.
การเมืองคลี่คลาย หนุนฟันด์โฟลว์ไหลเข้าหุ้นไทย

อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยจะถูกนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณที่ดูดี อีกทั้งล่าสุดสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หลังเสร็จสิ้นการคัดเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎ โดยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุว่า ปัจจัยการเมืองที่ดูผ่อนคลายขึ้นตามลำดับสร้าง Sentiment เชิงบวก เห็นได้จากเม็ดเงินต่างชาติทยอยไหลเข้าประเทศไทย ทั้งในส่วนของตราสารหนี้และตลาดหุ้น
.
โดย 5 วันที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิทั้งหุ้น และตราสารหนี้ไปกว่า 1.1 พันล้านบาท และ 1.4 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ จนทำให้ค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 34.87 บาทต่อเหรียญฯ (แข็งค่ากว่า 1% ในช่วงเวลาเดียวกัน) ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีต่างชาติยังคงขายสุทธิทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไปกว่า 1.1 แสนล้านบาท และ 7 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ นั้นแสดงให้เห็นว่ายังมีช่องว่างอีกมาก ให้ต่างชาติสามารถซื้อสุทธิได้

#หุ้น #StockInfo #ฟันด์โฟลว์ #SET #WealthyThai

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

10 อันดับเศรษฐีหุ้นไทย ในครึ่งแรกปี 2566

เปิดรายชื่อ 10 อันดับ
เศรษฐีหุ้นไทย ในครึ่งแรกปี 66
.
ผ่านช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มาแล้ว ตลาดหุ้นไทยต้องเผชิญกับปัจจัยกดดันจากภายนอกและภายในประเทศ ทั้งความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ฯลฯ ส่งผลให้ดัชนีผันผวนจนหลุดแนวรับสำคัญที่ระดับ 1,600 จุด หุ้นฮอตฮิตหรือหุ้นที่เคยได้รับความนิยมหลายตัวถูกเทขาย
.
จากภาพความผันผวนที่เกิดขึ้น ทีมงาน Wealthy Thai จึงได้สรุปข้อมูลที่น่าสนใจในรอบครึ่งแรกของปี 2566 มาฝากนักลงทุน ซึ่งวันนี้เป็นคิวของ 10 อันดับเศรษฐกิจในตลาดหุ้นไทย มาดูกันว่าใครจะมีมูลค่าการถือครองหุ้นมากที่สุด

#หุ้น #StockInfo #เศรษฐีหุ้นไทย #GULF #EA #BA #WealthyThai

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วิธีอ่านงบการเงินแบบกระชับ

วิธีอ่านงบการเงินแบบกระชับ

วิธีการดูข้อมูลงบการเงินในจุดสำคัญๆ ไม่ใช่ตำราการวิเคราะห์งบการเงินฉบับเต็ม ที่ต้องเขียนเป็น 100 หน้า และอ่านนานเป็นวันๆ  แต่จะสรุปเฉพาะจุดสำคัญที่ท่านควรดูเป็นขั้นต่ำ โดยไม่ใช้เวลามาก (จนหมดกำลังใจที่จะอ่านต่อ)  สามารถเห็นได้ว่าหุ้นที่ดูนั้นเป็นหุ้นดีที่น่าสบายใจ หรือเป็นหุ้นแย่ที่มีจุดเสี่ยงจุดเปราะที่ควรหลีกเลี่ยง

.

โดยจุดสำคัญของงบการเงินที่ควรจะดูเป็นขั้นต่ำ ได้แก่ 

1. รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี แม้ว่าจะค่อนข้างยาว โดยส่วนหนึ่งเป็นการแจงของผู้สอบบัญชีว่าได้สอบถามตรวจทานมาอย่างไร และกล่าวถึงว่า ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบการจัดทำงบ เป็นต้น

จุดที่สำคัญที่สุดที่ต้องหาให้ได้คือ ถ้อยคำว่า ”งบการเงินนี้ถูกต้องตามที่ควรในสาระสําคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน” หรือ “ไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าข้อมูลทางการเงินดังกล่าวไม่ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี” แต่ถ้าอ่านเจอคำว่า “ข้าพเจ้าไม่สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท” แบบเดียวกับหุ้นที่กำลังโด่งดังอยู่ขณะนี้ ต้องเลี้ยวหนีทันที

นอกจากนั้น ในรายงานผู้สอบบัญชี  ให้ดูต่ออีกนิดว่า มี ”ข้อสังเกต” หรือไม่  ถ้ามีก็ควรอ่านดูว่า  ประเด็นข้อสังเกตนั้นทำให้เรากังวลหรือไม่กังวล

แต่ถ้าใครอยากได้ตัวช่วยสรุปความเห็นผู้สอบบัญชีเร็วขึ้นไปอีก ให้ไปดูจาก Factsheet ในเว็บไซต์ของ settrade เขาได้ช่วยสรุปความเห็นผู้สอบบัญชีไว้ให้เรียบร้อยสั้นๆ  เช่น ไม่มีเงื่อนไข หรือไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต เป็นต้น

.

2. ดูการเติบโตของรายได้ กำไรสุทธิ สินทรัพย์ ควรใช้ตัวช่วยจากตัวเลขสรุป 5 งวดปี ที่เว็บไซต์ SET และ settrade ช่วยนำข้อมูลมาเรียงเป็นตารางให้เรียบร้อย ธุรกิจโดยทั่วไปที่ไม่ใช่หุ้นวัฏจักรแบบเข้มข้น (Cyclical Stock) ควรมีแนวโน้มเติบโตให้เห็นได้  จากการเรียงข้อมูลประมาณ 5 ปี โดยไม่จำเป็นต้องโตทุกปีก็ยอมรับได้ เพราะการลดหย่อนนิดๆ หน่อยในบางปีไม่ใช่เรื่องแปลกในประเทศที่เศรษฐกิจไม่ได้เติบโตมากแบบไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และผมคิดว่าอาจต้องยอมเว้นวรรคข้ามการดูปี 2563 และ 2564 ที่เป็นช่วงวิกฤตโควิดอย่างหนักจนตั้งหลักไม่ทัน  เพราะไม่ใช่สิ่งที่เกิดได้บ่อยๆ

การเรียงข้อมูลเทียบแค่ 2 ปี หรือ 3 ปี ไม่เพียงพอให้เห็นทิศทางที่ผ่านมาว่าเติบโตหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหุ้นธุรกิจวัฏจักรเข้มข้น เช่น ปิโตรเคมี  น้ำมัน  โลหะ สินค้าเกษตร สายการบิน เป็นต้น

ทั้งนี้ หุ้นวัฏจักรแบบเข้มข้น จะมีพฤติกรรมราคาสินค้าและกำไรผันผวนมากเป็นวัฏจักร ช่วงที่ดีจะขึ้นแรงจนตะลึงประมาณ 2 ปี แล้วสลับด้วยการดิ่งเหวประมาณ 2 ปี ยามลงแรงอาจถึงขั้นผลดำเนินงานขาดทุน แล้วก็จะกลับเข้าสู่วงจรขาขึ้นรุนแรงใหม่ สลับกันเช่นนี้ไปเรื่อย

ดังนั้น ใครเอางบแค่ 2-3 ปี มาดูก็จะเข้าใจผิดว่าเป็นหุ้นเติบโตสูง  หรือในช่วงแย่ก็นึกว่าเป็นหุ้น Sunset คือ ชีวิตธุรกิจจบสิ้นแล้ว  ซึ่งจะกลายเป็นการมองผิดพลาดเป็นอย่างมาก  แต่เมื่อเรียงงบ 5 ปี ก็จะเห็นได้ถึงพฤติกรรมของวัฏจักรได้ชัดเจน

ตัวเลขยอดรายได้ และกำไรสุทธิที่นำมาดู ควรเป็นรายได้และกำไรที่เป็นปกติของการดำเนินธุรกิจ  ไม่ใช่ฟลุค ที่เป็นรายการพิเศษครั้งเดียว เช่น  ขายที่ดินกำไรครั้งเดียวโดยไม่ได้มีอาชีพจัดสรรที่ดิน  หรือกำไรจากการแก้ไขปัญหาหนี้แล้วเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ เป็นต้น


3. ดูตัวเลขที่แสดงว่าบริษัทนี้มีคุณภาพกำไรในอัตราที่ดีหรือไม่ นอกเหนือไปจากเราจะดูตัวเลขกำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้น ที่อยู่บรรทัดล่างของงบกำไรขาดทุนแล้ว คงต้องเอาตัวเลขมาหารหาอัตราส่วนกำไรด้วย เช่น กำไรสุทธิหารด้วยยอดรายได้ (Net Profit Margin) กำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)

ธุรกิจที่ดี ควรมีอัตรากำไรที่สูง และเทียบยาวๆ  5 ปี อัตรากำไรไม่หดแคบลง ถ้ามีเวลาอีกนิด น่าจะลองไปดูของคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันจะเห็นได้ชัดขึ้น

ควรเลี้ยวไปเหลือบมองงบกระแสเงินสดสักนิด ในบรรทัดที่เขียนว่า เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน  หรือพูดง่ายๆ คือ เงินสดจากกำไรของกิจกรรมค้าขายที่บวกกับบรรดาค่าเสื่อมราคาที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ต้องเงินออกไป (เพราะซื้อมาก่อนแล้ว) และไม่รวมการลงทุนต่างๆ ไม่รวมการกู้ยืมหรือคืนเงินกู้ 

ในบางรายที่โชว์ว่ามีกำไรสุทธินั้น แต่พอไปดูบรรทัดเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานกลับติดลบ กรณีนี้ ถ้าเรายังจะสนใจหุ้นนี้  ก็คงต้องเพิ่มการบ้าน  ให้ไปเจาะดูเพิ่มอีก เช่น  ดูว่ามียอดลูกหนี้สูงขึ้นมากใช่ไหม  หรือสต็อคสินค้าคงเหลือในบริษัทพุ่งขึ้น จึงทำให้ตัวเลขกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบ ถ้าเป็นเช่นที่ว่านี้ ดูไม่สวยงามนัก ท่านอาจต้องพิจารณาเพิ่มให้ดีว่า ลูกหนี้มีปัญหาค้างชำระเกินสมควรหรือไม่ และทำไมสต็อควัตถุดิบและสินค้าพุ่ง เป็นเพราะขายไม่ออกหรือไม่

กรณีที่กล่าวไปนี้  เรายังไม่นับรวมกรณีตุกติกทางบัญชี  ซึ่งต้องเรียนว่า เป็นเรื่องยากมากที่จะจับทันได้ทั้งหมดจากการดูในงบการเงินที่แจ้งออกมา  นักลงทุนและนักวิเคราะห์คงต้องพยายามเลือกหุ้น โดยค้นหาประวัติและพฤติกรรมที่ผ่านมาของผู้บริหาร ทีมงาน กรรมการ และผู้ถือหุ้นหลัก ซึ่งก็คงกรองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายที่เขาเนียนกริ๊บ แสดงหลักฐานว่ามียอดขาย มีใบเสียภาษีต่างๆ ยืนยันอีกด้วย 


4. ความเสี่ยงและสภาพคล่องทางการเงิน โดยหลักแล้ว บริษัทที่มีหนี้น้อย ส่วนของทุนมาก และบริหารโครงสร้างการเงินดี ย่อมมีความเสี่ยงที่ต่ำ มีแรงทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอหรือถดถอยได้ดี

ให้ดูอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) ตัวเลขที่ต่ำเป็นตัวเลขที่สบายใจในแง่ความเสี่ยงทางฐานะการเงิน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่แข็งแรงและมีการเติบโตดีจริง อาจไม่ใช้สัดส่วนนี้ต่ำมากๆ เนื่องจากความจำเป็นต้องขยายงาน และในความเป็นจริง ต้นทุนดอกเบี้ยกู้นั้น ต่ำกว่าต้นทุนที่ถูกเรียกร้องจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Cost of Equity )

ดังนั้น เราอาจเห็นบริษัทดีๆ มีสัดส่วนเกิน 1 เท่าไปบ้าง อาจจะใกล้ 2 เท่าก็ไม่ต้องตกใจ แต่หากเห็นกิจการที่กำไรไม่ค่อยดี แล้วมีระดับ D/E 3-4 เท่า อันนี้น่าเสียวไส้ เพราะเป็นการแบกความเสี่ยงทางการเงินที่สูงเมื่อเทียบกับพลังในการสร้างกำไรมาจ่ายคืนหนี้   และหากมีสถานการณ์ธุรกิจชะลอหรืออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นไปมาก ภาระนี้ก็คงหนักหนาขึ้น โอกาสทำกำไรก็จะยิ่งยากเป็นเท่าตัว

ในเรื่องหลักเกณฑ์อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนใกล้ 1 เท่านี้  ไม่ไปใช้กับธุรกิจธนาคาร  ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องระดมหนี้จากเงินฝาก เอามาเป็นสินค้าที่เอาไปขาย (ปล่อยกู้)  และกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย  ทำให้อัตราส่วนจะไปเกือบ 10 เท่า  วิธีวิเคราะห์งบธนาคารจะมีหลักเกณฑ์และรายละเอียดแตกต่างไปจากธุรกิจอื่นมาก ซึ่งในวันนี้เรายังไม่เข้าไปเขียนถึง

กรณีที่ค่า D/E สูง อาจต้องดูอัตราส่วนสภาพคล่องการเงินระยะสั้นอีกสักนิด ที่เรียกว่า Current Ratio นั่นคือ ในงบดุล ให้เอาบรรทัดสินทรัพย์หมุนเวียนมาหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน โดยทั่วไปเราคงต้องการให้เกิน 1 เท่า เพื่อให้พอหมุนเวียนจ่ายหนี้ระยะ 1 ปีทัน  เงินไม่ช็อตไปเสียก่อน

แต่ถ้าจะเอาให้ชัวร์ ควรไปถึงขั้นใช้ Quick Ratio คือ สินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่นับรวมสินค้าคงเหลือในมือ แล้วหารด้วยหนี้สินหมุนเวียนเเบบเต็มคาราเบล ตัวเลขก็จะต่ำกว่า Current Ratio ลงไปบ้าง  ซึ่งเป็นวิธีที่คัดกรองความเสี่ยงทางสภาพคล่องได้มั่นใจขึ้น โดยเฉพาะกรณีของกิจการที่แอบมีสินค้าคงเหลือเกินปกติ ถ้าคำนวณ Quick Ratio ตัวเลขจะลดฮวบลงมาเยอะเช่น Current Ratio อยู่ที่ 1.1 แต่ Quick Ratio ทรุดมาที่ 0.7 เป็นต้น


5. ตรวจตัวเลข ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ว่าดูเป็นปกติดี ตัวเลขเหล่านี้ถ้าดูอันตราย มักเป็นจุดเริ่มต้นของหุ้นที่จะมีปัญหา ปกติจะมีตัวเลขที่ขยายสอดคล้องไปกับการเติบโตของการขาย  ซึ่งอาจเร็วช้ากว่ากันนิดหน่อยได้  แต่กรณีที่ต้องระวัง คือการพุ่งขึ้นพรวดพราดของยอดลูกหนี้  และหรือสินค้าคงเหลือ  เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 10% แต่ยอดลูกหนี้พุ่งขึ้น 70 % อันนี้ท่านลองไปดูคำอธิบายในเอกสาร คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) ที่เขาส่งมาพร้อมงบการเงิน  อาจอธิบายไว้ในนั้น ท่านต้องชั่งใจดูว่า คำอธิบายสมเหตุผลน่าสบายใจไหม  และถ้าไม่มีคำอธิบาย  ผมว่าเราต้องระวัง

ลองคำนวณตัวเลขลูกหนี้เทียบระยะเป็นจำนวนวันหรือเดือนของการขาย เช่น ถ้ามียอดขาย ปีละ 2,400 ล้านบาท  เท่ากับเฉลี่ยได้เดือนละ 200 ล้านบาท แต่มียอดลูกหนี้พุ่งขึ้นเยอะเป็น 1,200 ล้านบาท  เมื่อเอายอดลูกหนี้หารด้วยยอดขายต่อเดือน  ปาเข้าไปประมาณ 6 เดือน ถือว่าค้างกันนานมาก ลองมองปีก่อนเทียบกัน ว่าพุ่งมาจากระดับกี่เดือน  และหรือดูลักษณะธรรมชาติทางธุรกิจของเขาว่าเป็นการขายของเงินผ่อนประชาชนหรือไม่  ถ้าไม่ใช่ก็แสดงว่าอาจมีปัญหาลูกหนี้เกิดขึ้น

คำนวณตัวเลขสินค้าคงเหลือว่าค้างผิดปกติหรือไม่ โดยเทียบระยะเป็นจำนวนวันหรือเดือนของต้นทุนสินค้าขาย  โดยทั่วๆ ไป น่าจะคงเหลือไว้ไม่นานไปกว่า 2-3 เดือน ขึ้นกับลักษณะธุรกิจ  ถ้าคงเหลือค้างนานเท่ากับรอขายครึ่งปี แบบนี้ต้องไตร่ตรองดีๆ ว่ามีคำอธิบายที่สมเหตุผลหรือไม่ครับ 

ผมจำได้ว่าเคยมีเคสที่มีปัญหา เป็นหุ้นในอดีตรายหนึ่งเมื่อสัก 15 ปีก่อน ที่ทำธุรกิจโชว์รูมรถหรูนำเข้า  มียอดสินค้าคงเหลือนาน 6-7 เดือน ซึ่งผมก็รู้สึกแปลกใจมาก เพราะโดยทั่วไปน่าจะเป็นการจองโดยมีแค่รถโชว์ไม่กี่คัน  ซึ่งต่อมาหุ้นนี้มีปัญหามากมายหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องสินค้าคงคลังกลายเป็นสินค้าทิพย์เกือบทั้งหมด คือไม่มีสต็อคอยู่จริง

ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคอ่านงบแบบกระชับ 5 ข้อ ที่ผมหวังว่าจะช่วยให้นักลงทุนได้นำไปใช้คัดกรองให้ได้หุ้นที่ดี หนีหุ้นที่แย่ได้พอสมควร

 #หุ้น #News #งบการเงิน #ลงทุน #เล่นหุ้น 


เครดิต 

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน 

WealthyThai

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565

สมัคร

 สมัคร

---
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนลงทุนควรศึกษาและกำหนดวงเงินลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้
#BTC #ETH #XRP #LTC #BCH #USDT #BNB #XLM #ADA #BSV #WAN #OMG #ZIL #SNT #CVC #LINK #GNT #IOST #ZRX #KNC #ENG #RDN #ABT #MANA #INF #CTXC #SIX #JFIN #EVX #POW #DOGE #DAI #USDC #BAT #BAND #KSM #DOT #NEAR #GOLD #C8PLUS #SXP #MKR #ENJ #YFI #คุณป้านักลงทุน #BITKUB #ZIPMEX #BINANCE #SHIB #BABYDOG #ELON

Diary lunc กับ คุณป้านักลงทุน

13 พค. 2565

ป้าไม่ได้ถือ #luna มาก่อนค่ะเพราะเข้าไม่ทัน ราคาไปไกล แต่พึ่งจะมาซื้อ 4ไม้ๆละ 20 usdt รวมจ่าย 80 ในเวลา 2 วัน


เข้าซื้อตอนราคา 

0.9

0.2

0.0387

0.0000023

จากนั้นขายไปเอาเงินคืนมา 200 usd

เท่ากับกำไรแล้ว 120 usd

ที่เหลือปล่อย จน bn ปิดเทรดไป

ก็แล้วแต่เนาะ ว่าเหรียญจะกลับมาได้มั้ย


14 พค.2565



19 พค. 2565
bn เปิดเทรด luna กลายร่างเป็น lunc 
แต่ป้าก็ไม่ได้ขาย และไม่ได้ซื้ออีก 
ได้แต่รอเวลาเงียบๆ



1 กย. 2565
ไปเรื่อยๆ แต่มีไปเก็บ BTTC เพิ่ม เพราะเห็นว่ามันถูกดี อย่าไปซื้อตามป้าเด้อ



5 กค. 2566



โปรดติดตามตอนต่อไป ในโพสต์นี้แหละ 
จะมาอัพเดตเรื่อยๆ











สูตรการลงทุนสไตล์ #คุณป้านักลงทุน

สูตรการลงทุนสไตล์ #คุณป้านักลงทุน

บริหารความเสี่ยง

DCA

ไม่ ALL IN

ลงมาก กำไรให้ตัดทุนออก

ลงน้อย รับความเสี่ยงได้ก็ปล่อยยาวได้

กระจายความเสี่ยง

เงินสดคือพระเจ้า

ลงทุนด้วยงบ 10-30% ของที่ลงได้ 

เผื่อถัว 5 ถึง 10 ไม้

รักนะ

#คุณป้านักลงทุน

สูตรแบ่งเงินลงทุน

30%

30%

30%

10%

สูตรแบ่งเงินลงทุน #คุณป้านักลงทุน