แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Money Management แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Money Management แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทำความเข้าใจ Money Management

ทำความเข้าใจ Money Management 

Money Management ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาด Forex เพราะสิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในตลาด Forex ประกอบด้วย 3 อย่างด้วยกัน

1. ระบบเทรด มีความสำคัญ 10%

2. Money Management มีความสำคัญ 30%

3. จิตวิทยาของเทรดเดอร์ มีความสำคัญ 60%

เห็นได้ว่า Money Management มีความสำคัญสูงถึง 30% 
ดังนั้น Money Management จึงเป็นเรื่องที่จะปล่อยปะละเลยไม่ได้ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเทรดเดอร์อย่างเราต้องรู้ไว้


ทำความรู้จัก Money Management

Money มีความหมายว่า “เงิน”
Management มีความหมายว่า “การบริหาร การจัดการ”
เมื่อเอาความหมายมารวมกัน Money Management หมายว่า “การจัดการบริหารพอร์ตเงินทุน” หรือที่ใครชอบเรียกชื่อย่อว่า “MM”

หลายๆ คนอาจจะเคยได้กำไรจากการเทรดหลายๆออร์เดอร์ติดต่อกัน เป็น 10 ออร์เดอร์หรือ 20 ออร์เดอร์เป็นบวกติดต่อกัน แต่ถ้าเกิดการขาดทุนเพียงออร์เดอร์เดียวหรือขาดทุนเพียงไม่กี่ออร์เดอร์ แล้วเกิดความเสียหายต่อพอร์ตลงทุนมากหรืออาจจะถึงขั้นล้างพอร์ต สาเหตุหลักๆที่เป็นแบบนี้มาจากการขาด Money Management หรือมีการวางแผน Money Management ที่ไม่ดี


สาเหตุหลักๆ ที่คนส่วนใหญ่ที่มองข้าม Money Management

อ้างอิงข้อมูลจากตัวผมเองและหลายๆคนที่ผมสอบถามมาว่าทำไมถึงมองข้าม Money Management โดยรวบรวมมาแล้วสรุปได้ 3 สาเหตุด้วยกัน 

1. คิดว่าเงินทุนตัวเองไม่มาก ขาดทุนก็ไม่เป็นไรหรืออยู่ในขั้นฝึกเทรดอยู่ เอาแค่กลยุทธ์การทำกำไรพอ
จริงๆแล้วไม่ได้เลยนะครับ ถ้าเราต้องการประสบความสำเร็จในตลาด Forex เราควรศึกษาเรื่อง Money Management ไว้ เพื่อให้เกิดเป็นนิสัยว่าเราต้องเทรดกี่ Lot จากเงินทุนเท่านี้ ไม่ว่าทุนน้อยหรือทุนมาก Money Management ก็เป็นเรื่องบังคับต้องรู้เลยนะครับ

2. ไม่อยากยุ่งยากเสียเวลามานั่งคิด
ข้อนี้คนส่วนใหญ่มักจะมองว่า Money Management นั่นคือเรื่องเล็ก เอาเวลาไปฝึกเทรด ฝึกกลยุทธ์การทำกำไรดีกว่าจะมานั่งคำนวณอะไรเยอะแยะ จริงๆแล้ว Money Management เป็นตัวกำหนดเลยนะครับ ว่าพอร์ตลงทุนของเราจะอยู่รอดไหม

3. คิดว่าถ้ามีระบบเทรดที่ดีหรือระบบเทรดเราดีอยู่อยู่แล้วไม่เห็นต้องอาศัย Money Management เลยก็ได้
ข้อนี้เป็นข้อที่พบมากที่สุดเลยนะครับ คือคนส่วนใหญ่มักจะมองไปที่กลยุทธ์การทำกำไร มองหาวิธีการทำกำไร แต่น้อยคนจะมองหาวิธีการขาดทุนที่ปลอดภัย ในความเป็นจริงแล้วต่อให้ระบบดีแค่ไหนก็ต้องมี ออร์เดอร์ที่ขาดทุนบ้าง ออร์เดอร์ที่ขาดทุนนั้นคือความสำคัญ ถ้าหากออร์เดอร์ที่ขาดทุนนั้นเพียงออร์เดอร์เดียวหรือเพียงไม่กี่ออร์เดอร์แล้วทำให้เราล้างพอร์ตหรือเกิดความเสียหายกับพอร์ตลงทุนนั่นแสดงให้เห็นว่าระยาวพอร์ตนี้ไม่ปลอดภัยอย่างแน่นอน


สาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่ล้างพอร์ต

เชื่อว่าสาเหตุเหล่านี้ เทรดเดอร์หลายคนต้องเคยล่างพอร์ตด้วยเหตุกาณ์เหล่านี้มาบ้าง

1. ซื้อผิดทางแล้วหวังว่าเราจะกลับตัว
สมมุติว่า ผม Buy แล้วหลังจากนั้น ราคามันล่วงลงมาเรื่อยๆ แต่ผมก็ไม่ยอม Stop loss หรือปิดออร์เดอร์ จนสุดท้ายราคาลากจนมาถึงจุดล้างพอร์ต

2. มี Stop loss แต่ปรับเปลี่ยนจุดเพราะกลัวราคาจะมาถึง Stop loss
สมมุติว่า ผม Buy แต่หลังจากนั้นราคามันก็ล่วงลงมา แต่ไม่เป็นไรผมมี Stop loss จนเวลาผ่านไปราคาติดลบลงมาเรื่อยๆ จนมาใกล้ถึง Stop loss ผมมีความรู้สึกกลัวการขาดทุนไม่อยากขาดทุนหรือคิดว่าราคามันยังมีโอกาสจะกลับตัวขึ้นมาก็เลยเลื่อน Stop loss หนีให้ Stop loss กว้างขึ้นไปอีก และก็เลื่อนหนีเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งที่ยอมให้ราคามาถึง Stop loss จนกลายเป็นว่า Stop loss ครั้งนั้นเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่ หรือบางคนเอา Stop loss ออกไปเลย จนราคาติดลบลากมาเรื่อยๆจนถึงล้างพอร์ต

3. คิดว่าการปิดออร์เดอร์ทุกครั้งต้องเป็นกำไร
ข้อนี้พบส่วนใหญ่จากเทรดเดอร์มือใหม่หรือเทรดเดอร์ที่ต้องการโชว์พอร์ตลงทุนของตัวเอง ต้องการโชว์ว่าระบบของเราดีไม่มีการขาดทุน แต่ที่ไหนได้เมื่อเกิดการขาดทุนเพียงครั้งเดียวก็ล้างพอร์ตแล้ว

4. เกิดความโลภ อยากรวยเร็ว Overtrade 
ข้อนี้เป็นมักพบได้ในเทรดเดอร์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเทรดเดอร์มือใหม่หรือเทรดเดอร์ระดับเซียน เกิดความโลภอยากรวยเร็ว อยากรวยเพียงข้ามคืน หรืออยากเอาที่ขาดทุนไปกลับคืนมาทำให้ควบคุมตัวเองไม่อยู่แล้ว Overtrade เทรดทีละ lot หนักๆ แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้มาคือ เทรดเดอร์เกิน 99% ที่ทำแบบนี้ส่วนใหญ่มักจะล้างพอร์ตอย่างรวดเร็ว

5. เข้าออร์เดอร์เพิ่ม เพราะคิดว่าราคาจะกลับตัวแล้ว
ข้อนี้เป็นกลยุทธ์การเข้าเทรดของเทรดเดอร์หลายๆคนคือจะไม่เทรดทีละออร์เดอร์เดียว แต่จะแบ่ง lot เข้าเป็นทีละไม้ เช่น ระบบบอกเทรดไม่เกินครั้งละ 1lot ก็จะแบ่งการเปิดออร์เดอร์ออกหลายครั้ง แต่รวมๆแล้วต้องไม่เกิน 1lot ตามระบบเทรดที่กล่าวไปก่อนหน้า

ตัวอย่างเหตุการณ์ เข้าเทรดไม้แรกยังไม่ค่อยมั่นใจเทรดไป 0.1lot ไม้ที่สองคิดว่าน่าจะป็นไปตามที่คาดการณ์
แล้วใส่เพิ่มเข้าไปเป็น 0.2 lot แต่ก็ยังไม่เป็นไปตามที่คิด
ไม้ที่สามเพิ่มเข้าไปเพราะมั่นใจว่าจุดกลับตัวแน่ๆ เทรดไป 0.4 แต่ราคายังไม่เป็นไปตามที่คิด 
นึกได้ว่าถ้าเทรดออร์เดอร์ถัดไปจะเกิน 1lot เกินระบบเทรดแล้ว แต่ในใจลึกๆคิดว่าไม่เป็นอะไรเพราะเดี๋ยวราคาก็กลับตัวแล้วจึงเทรดไม้ที่ 4
ไม้ที่สี่เทรดไป 0.8 เพราะคิดว่าชัวร์แต่ราคาก็ไม่เป็นไปตามที่คิด
ไม้ที่ห้าเพิ่มเข้าไป 1.6 lot เพราะคิดว่าถ้ากลับตัวตรงนี้กำไรเพียบแน่ๆ แต่ราคาก็ยังไม่เป็นไปตามที่คิด กว่าจะนึกขึ้นได้เทรดรวมกัน 5 ไม้ ก็เป็น 3.3 lot ถ้าเทรดแบบแบ่งเข้าเทรดทีละออร์เดอร์ตามตัวอย่าง หากเราควบคุมตัวเองไม่ได้ในตอนเกิดการขาดทุนขึ้น มันจะไม่ใช่การขาดแบบปกติ แต่จะเป็นการขาดทุนแบบทวีคูณ ทำให้เราล้างพอร์ตได้อย่างรวดเร็วกว่าการเทรดแบบอื่นๆ เพราะการเข้าเทรดแต่ละไม้เราคิดว่ามันจะสุดทางแล้วไม่น่าจะไปต่อได้อีกแล้ว สุดๆแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ทราบได้เลยว่าตรงไหนคือสุดทาง ตรงไหนคือจุดกลับตัว ถ้าหากว่าราคาผิดทางเราไม่ควรเพิ่มไม้เทรดจนเกินกว่าระบบเทรดของเรา แต่ควร Stop loss เพื่อจะวางแผนเทรดในครั้งต่อไป


6. และอื่นๆที่ไม่ได้พูดถึง
และสาเหตุอื่นๆมากมายที่ไม่ได้พูดถึง เช่น การขาดทุนติดต่อกันมากๆ การตั้ง Stop loss แต่ห่างเกินไป และอื่นๆอีกมากมาย


จากที่ 6. ข้อของสาเหตุส่วนใหญ่ที่ล้างพอร์ตนั้นจะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Stop loss เกือบทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า Stop loss นั้นเปรียบเสมือนหัวใจของการอยู่รอดของพอร์ตลงทุนเลยก็ว่าได้



กว่าจะกลับมาเท่าเดิม

รู้ไหมว่า? ในการที่เราขาดทุนแต่ละครั้ง โอกาสที่จะกลับมาเท่าเดิม นั้นยากขึ้นอย่างทวีคูณ

ตัวอย่างเช่น

ถ้าขาดทุนไป 10% การที่จะทำให้ทุนกลับมาเท่าเดิม เราต้องทำกำไรถึง 11% 
วิธีคิด มีทุน $100 ขาดทุนไป 10% คือ ขาดทุนไป $10 เหลือเงินอยู่ $90 ถ้าทำกำไร 10% ทุนที่มีก็จะเท่ากับ $99 เห็นไหมครับว่ามันไม่เท่าเดิมต้องทำกำไร 11% เงินทุนถึงจะกลับมาเท่าเดิม

ถ้าขาดทุนไป 50% การที่จะทำให้ทุนกลับมาเท่าเดิม เราต้องทำกำไรถึง 100% 
วิธีคิด มีทุน $100 ขาดทุนไป 50% คือ ขาดทุนไป $50 เหลือเงินอยู่ $50 ถ้าทำกำไร 50% ทุนที่มีก็จะเท่ากับ $75 เห็นไหมครับว่ามันไม่เท่าเดิมต้องทำกำไร 100% เงินทุนถึงจะกลับมาเท่าเดิม 

จากตัวอย่างสองอันนี้แสดงให้เห็นว่ายิ่งขาดทุนมากเท่าไหร่ โอกาสกลับมาเท่าเดิมยิ่งยากแบบทวีคูณ ดูจากตัวอย่างแรกขาดทุน 10% จะทำกำไรให้กลับมาเท่าเดิมนั้นต้องทำกำไรแค่ 11% แต่ตัวอย่างที่สองขาดทุน 50% จะทำกำไรให้กลับมาเท่าเดิมนั้นต้องทำกำไรถึง 100% เรียกได้ว่ายิ่งขาดทุนมากยิ่งทำให้กลับมาเท่าเดิมยิ่งยาก 

เครดิต https://www.exness.com/a/rpvhfufs