แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาชีพแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ Venture Capitalist แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาชีพแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ Venture Capitalist แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อาชีพแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ Venture Capitalist

สวัสดีค่ะ 
วันนี้ป้าจะมาพูดถึงอาชีพใหม่ ที่ว่าใหม่เพราะป้าเพิ่งจะเริ่มได้ยินเมื่อ สัปดาห์ก่อนเองค่ะ อาชีพนี้ชื่อว่า Venture Capitalist ป้าก็งงอยู่ ก็เลยไปสืบค้นดูก็ได้ความว่า Venture Capitalist



VC DREAM 

(ค้นจาก https://goodmorningholding.wordpress.com/2014/05/21/vcdream/)

คนที่ทำธุรกิจในสิ่งที่ตัวเองรักถือว่าโชคดีแล้วหล่ะ  แต่ถ้าใครเป็นคนขี้เบื่ออยากเจอหลายรสชาด ชอบความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้เรื่องราวของหลายๆธุรกิจ  ครั้นจะให้ลงมือทำเองไปเสียทุกอย่าง  ชีวิตนี้ก็คงยาวไม่พอ  Venture Capitalist คืออาชีพที่น่าสนใจมากในสายตาผม

ทำไมGoodMorning Holding ต้องเป็น Holding company ด้วย ? 

คำถามนี้โดนถามประจำ  ผมอยากมีธุรกิจที่มันแปลกๆ ไม่ธรรมดา จำนวนมากอยู่ภายใต้มือเรา  ไอเดียดีดีสามารถเกิดขึ้นบนโลกนี้ได้อีกมาก แต่ขาดbackหนุนให้มันเกิดขึ้นได้ ,  VCs (Venture Capitalist) และ Angel*** ก็คือ แหล่งที่พึ่งทางการเงินของเหล่า Start Up ที่มีไฟแรงทั้งหลายไงล่ะ แต่การจะเป็นVCs นั้นไม่ง่ายเลย

***Angel ก็คล้ายๆกับ VCs แต่ต่างกันที่ Size & State of Investment จะอยู่ในช่วง Early State 

แต่การจะเป็น VCs  นั้นไม่ง่ายเลย ถ้าใครดู Shark Tank (หรือฝั่ง u.k. ก็มี Dragons Den)  เค้าจะเอา VCs 5 คนมานั่งดูEntrepreneurเอาธุรกิจมาเสนอต่อหน้าแล้วตัดสินใจลงทุนกันตรงนั้นเลย  ในรายการเค้าเรียกกรรมการ 5 คนที่เป็น VCs ว่า “Shark” ,  และพวกSharkแต่ละคนที่เอาเข้ามานั้นไม่ใช่พวกทายาทธุรกิจ  แต่เค้าเลือกมาจากพวก Self-made millionaire ทั้งหมด  , VCs จึงควรจะเป็นคนที่ proof ตัวเองมาแล้วว่า มายืน ณ จุดนี้ได้ด้วยความสามารถล้วนๆ ซึ่งควรจะต้องมี Successful Business มาก่อน

ที่จริงแล้วการเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นก็offerโอกาสการได้ลงทุนกับบริษัทที่หลากหลายนะ  แต่ Venture Capitalist มีที่สิ่งน่าตื่นเต้นกว่าตรงที่

1. มันมีบริษัทตัวเลือกเยอะกว่าในตลาดหุ้น  พวกบริษัทที่เราชอบจริงๆในตลาดหลักทรัพย์มันมีไม่กี่ตัวที่เป็น long term growth stock ที่น่าสนใจ นอกนั้นก็เป็นพวก business model ที่ไม่ค่อยหวือหวา

2. มันใช้กึ๋นทางbusinessจริงๆไง   ตัดเรื่องการmanipulateราคาหุ้นออกไป  ตัดการวิเคราะห์ด้วยกราฟ  คือวัดกันด้วยฝีมือการมองเกมตรงๆเลย  ถ้าบริษัทที่เราลงทุนมันเกิด success ขึ้นมาจริงๆ มูลค่าของกิจการก็เพิ่มขึ้นไปตามนั้นเลยจบ คนเล่นหุ้นนะ บางทีรู้ตื้นลึกหนาบางในเกมธุรกิจนิดเดียวเอง แต่มันได้กำไรเพราะอย่างอื่นมีถมเถ แต่ขอบอกเลยว่าเกิดมาชีวิตนี้ขอเลือกทางเดินที่มัน Cool แม้ว่าจะลำบากกว่า

3. ความรู้สึกในการได้เป็นเจ้าของธุรกิจมันมีมากกว่า  คิดดูเวลาเราถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตัวนึงนะ เรากล้าพูดได้เต็มปากไหมที่จะบอกว่าเราเป็นเจ้าของกิจการนี้  คือขนาดของกิจการที่จดทะเบียนในตลาดมันใหญ่มากแล้ว แล้วคิดดูสัดส่วนที่เราถือมันไม่มีความหมายอะไรกับบริษัทหรือ ไม่มีใครเค้าแคร์ผู้ถือหุ้นตัวเล็กๆอย่างเราทั้งนั้นแหละ แต่ VCs และ Angel คือคนที่เข้าไปเจอบริษัทตั้งแต่วันที่ยังเป็นวุ้นอยู่ มูลค่ามันยังเล็กมาก เราจึงมีสัดส่วน%ถือครองมากอย่างมี Significant  ยิ่งถ้า >  51% คือเรา control ทิศทางของธุรกิจได้ สามารถให้คำปรึกษา  ใช้สิทธิยับยั้งการกระทำที่ไม่เข้าท่า  เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในหลายๆอย่า มันน่าภูมิใจกว่า



Venture Capital คืออะไร 

(ค้นจาก http://www.khaokla.com/thai/KSME_Venture_Capital.aspx)

ผมขออธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ ละกันนะครับ

Venture Capital หรือภาษาไทยเรียกว่าการร่วมลงทุน แปลอีกทีว่าเป็นการนำเงินลงทุนเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท เปรียบเสมือนกับการที่นึกอยากจะเปิดบริษัทซักบริษัทนึงหรืออาจจะต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในการดำเนินธุรกิจนี่แหละครับ แต่เงินตัวเองอาจจะมีไม่พอจึงจะต้องไปชวนเพื่อนๆ ญาติๆ หรือนักลงทุนอื่นๆ เอาเงินมาลงทุนด้วยและคนเหล่านี้ก็จะได้เป็นหุ้นของบริษัทที่ลงทุนไว้ เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไรก็แบ่งกันตามสัดส่วนการถือหุ้น

นักลงทุนที่เป็น Venture Capital ไม่ได้ต้องการถือหุ้นของบริษัทเราไปตลอดนะครับ ส่วนใหญ่เมื่อลงทุนไปแล้วระยะหนึ่งประมาณ 3-5 ปี ขึ้นไป เค้าก็จะถอนตัวออกแล้วครับ ความคาดหวังของพวกนี้คือต้องการให้บริษัทที่เค้าเข้าไปลงทุนสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ และก็จะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ พูดง่ายๆ ก็คือ เค้าคาดหวังกำไรจากการลงทุนเยอะๆ นั่นเอง แต่ถ้าบริษัทที่ลงทุนไปนั้นไม่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ เค้าก็จะขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นคืนโดยราคาหุ้นที่จะซื้อคืนอาจจะมีการตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมลงทุนซึ่งก็ยังคงเป็นอัตราผลตอบแทนในระดับที่สูงอยู่ดี

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า High Risk High Return ใช่มั๊ยครับ การลงทุนของ Venture Capital เป็นแบบที่ว่านี่แหละครับ การที่พูดว่าความเสี่ยงสูงนี้เกิดจากการลงทุนที่ไม่ได้รับหลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆ เลยแม้แต่อย่างเดียว จะได้รับก็เฉพาะใบหุ้นของบริษัทเท่านั้น ดังนั้นถ้าบริษัทนั้นเกิดไม่ดีตามที่วิเคราะห์ ทำไปทำมาเกิดเจ๊งขึ้นมาก็จะทำให้เงินลงทุนที่เข้าไปร่วมหุ้นนั้นสูญไปทันที จุดนี้เองที่ทำให้ Venture Capital ต้องทำการวิเคราะห์บริษัทอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะนำเงินไปลงทุน และทำให้ต้องคาดหวังอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในประเภทอื่น

ผมเคยได้รับฟังความคิดเห็นจากเจ้าของกิจการมาหลายท่านที่มักจะชอบนำอัตราผลตอบแทนที่ Venture Capital ต้องการไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารว่า ช่วงที่ดอกเบี้ยของธนาคารต่ำก็ควรจะลดอัตราผลตอบแทนที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืนให้บ้าง แต่ถ้าจำเนื้อความได้จากย่อหน้าที่แล้วจะมีจุดที่แตกต่างกันอยู่ที่ทำให้ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ครับ การลงทุนของ Venture Capital ไม่ได้รับหลักทรัพย์ใดๆ เป็นการค้ำประกันเลยถ้าบริษัทที่เข้าร่วมลงทุนเกิดปิดขึ้นมาก็สูญทันที ซึ่งต่างจากของธนาคารโดยสิ้นเชิงที่ได้รับหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มๆ และครอบคลุมวงเงินที่กู้ยืมมาทั้งหมดอยู่แล้ว หากเกิดความผิดพลาดปิดกิจการขึ้นมาก็ยังสามารถนำหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันไปขายทอดตลาดได้เงินกลับมาอยู่ดี จำไว้ครับว่า “High Risk High Return” เห็นมั๊ยครับ Concept ง่ายๆ มีเพียงเท่านี้เองครับ

ทั้งนี้ เพื่อให้ดูเป็นทฤษฎีขึ้นมานิดนึง ผมจึงได้ทดลองนำข้อมูลจากสารานุกรมต่างประเทศมาลองให้อ่านกันดังนี้ครับ “Venture Capital เป็น Private Equity Capital ประเภทหนึ่งหรือ ซึ่งเป็นการลงทุนโดยนักลงทุนภายนอก เพื่อลงทุนในกิจการที่เกิดใหม่และอยู่ในช่วงของการเติบโต โดยทั่วไปนั้น การลงทุนจะอยู่ในรูปแบบของการซื้อหุ้นของกิจการดังกล่าวด้วยเงินสด ดังนั้นการลงทุนในลักษณะที่เป็น Venture Capital จึงมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงในระดับที่ยอมรับได้เช่นกัน และด้วยสัดส่วนที่ลงทุนไปนั้น Venture Capitalist จึงสามารถมีสิทธิออกเสียงในการตัดสินใจในที่ประชุมได้ แต่ทั้งนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับนโยบายการร่วมลงทุนด้วยว่า Venture Capitalist นั้นต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารในกิจการด้วยหรือไม่ หรือต้องการลงทุนในฐานะที่เป็น Financial Investor เท่านั้น ซึ่งฐานะดังกล่าว Venture Capitalist จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใน Day-to-Day Operation ของกิจการ เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนแบบ Passive แต่อาจจะอยู่ในฐานะของที่ปรึกษาโดยเป็นการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารและทางเทคนิคให้กับกิจการ

Venture Capital Fund หรือกองทุนร่วมลงทุน อาจเป็นการลงทุนจากนักลงทุนหลายๆกลุ่ม ซึ่งโดยมากจะเฉพาะเจาะจง และจะลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงเกินกว่ามาตรฐานของการให้สินเชื่อของธนาคารหรือตลาดทุน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว Venture Capital จะมาจากกลุ่ม Wealthy Investors (คนมีตังค์) วาณิชธนกิจ (Investment Bank) และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมลงทุนกันในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต

รูปแบบการลงทุนแบบ Venture Capital นี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่นิยมสำหรับกิจการที่เพิ่งเริ่มจัดตั้งและมีประวัติการดำเนินงานไม่นานนัก ซึ่งไม่สามารถที่จะระดมทุนผ่านทางการออกตราสารหนี้ได้”

ปิยวัฒน์ รุ่งธนาภิรมย์ – เรียบเรียง