แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Money Management รูปแบบการเข้าเทรด แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Money Management รูปแบบการเข้าเทรด แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Money Management รูปแบบการเข้าเทรด

Money Management รูปแบบการเข้าเทรด
Money Management คือการจัดการบริหารพอร์ตลงทุน แต่การจัดการบริหารพอร์ตลงทุนก็มีด้วยกันหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ lot คำนวณกำไรขาดทุน หรือคำนวณการเข้าเทรด ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง Money Management ตอนรูปแบบการเข้าเทรด


รูปแบบการเข้าเทรดมีอยู่หลักๆ 2 รูปแบบ

1. การเทรดแบบเท่าเดิม
2. การเทรดแบบตามต้นทุน
2.1. การเทรดแบบทบต้นทุน
2.2. การเทรดแบบนัดเดียว


1. การเทรดแบบเท่าเดิม
การเทรดแบบเท่าเดิม หมายถึงการเทรดด้วย Lot size สม่ำเสมอ ไม่ว่าทุนจะเพิ่มหรือทุนจะลดลงก็ตาม เช่น ผมเริ่มต้นทุนที่เงิน $1,000 ผมก็จะเทรดไม่เกิน 1Lot ตามระบบเทรดของผม เวลาผ่านไป ผมได้กำไรจนมีต้นทุนที่ $2,000 ผมก็ยังคงเทรดที่ไม่เกิน 1Lot หรือแม้แต่ขาดทุนผมก็ยังคงเทรดที่ไม่เกิน 1Lot

ข้อดี ง่ายต่อการคำนวณ
ข้อเสีย ข้อเสียสำหรับการเทรดแบบนี้เรียกได้ว่ามีมากมาย อะไรที่เป็นผลเสียเรียกได้ว่ามีหมด การเทรดแบบนี้ผมไม่แนะนำเลยครับ


2. การเทรดแบบตามต้นทุน
การเทรดแบบตามต้นทุน หมายถึงการเพิ่มหรือลด Lot size ตามต้นทุนที่มี เช่น ถ้าเริ่มต้นเทรดด้วยทุน $1,000 ผมก็จะเทรดไม่เกิน 1Lot ตามระบบเทรดของผม เมื่อเวลาผ่านไป ผมได้กำไรจนมีทุนที่ $2,000 ผมจะเทรดไม่เกิน 2Lot คือเพิ่ม Lot size ตามต้นทุน หรือถ้าหากขาดทุนเหลือ $500 ก็จะเทรดไม่เกิน 0.5Lot

ข้อดี พอร์ตโตเร็วด้วยความเสี่ยงที่คงที เป็นการเทรดที่มีความยืดหยุ่นตามสภาวะเงินทุนของเรา การเทรดแบบนี้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน
ข้อเสีย ข้อเสียมีน้อยมากๆ เพราะการเทรดแบบนี้เราไม่มีกฎตายตัว ว่าต้องใช้ Lot size เท่าไหร่


2.1. การเทรดแบบทบต้นทุน
การเทรดแบบทบต้นทุน เป็นการเทรดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หรือหลายๆคนอาจจะเรียกว่าการเข้าเทรดแบบขั้นบันได เพราะการเทรดแบบทบต้นทุนจะไม่เปิดออร์เดอร์ครั้งละออร์เดอร์เดียว แต่จะเปิดออร์เดอร์เรื่อยๆ จนกว่าราคาจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ แต่ต้องไม่เกินจำนวน Lot size ที่วางแผนไว้

ตัวอย่าง

ผมเปิดออร์เดอร์ Buy เพราะหวังว่าราคาจะปรับตัวขึ้น แต่ราคายังมีการปรับตัวลงจนมาถึงจุดที่ผมคิดว่ากลับตัวแน่ๆ ผมเปิดอีกออร์เดอร์มีขนาดเป็น 2 เท่าจาก Lot size ของออร์เดอร์แรก แต่ราคาก็ยังปรับตัวลงเรื่อยๆ และมาถึงจุดที่ผมคิดว่ากลับตัวแน่ๆ ผมจึงเปิดออร์เดอร์ที่สามโดย Lot size มีขนาดใหญ่กว่าออร์เดอร์ที่สองถึง 2 เท่า และผมจะทำแบบนี้เรื่อยๆ จนครบจำนวน Lot size ที่ตั้งไว้

ข้อดี ทำให้ได้กำไรสูงแล้วขาดทุนต่ำกว่าการเทรดรูปแบบอื่นๆ เพราะมีจุดเข้าที่ดี จุดเข้าที่กลับตัว
ข้อเสีย หากเปิดออร์เดอร์แรกแล้วมาถูกทางเลย จะทำให้พลาดโอกาสที่จะได้กำไร ที่ควรจะได้รับ


2.1.1. แนวคิดการเทรดแบบทบต้นทุน
การเทรดแบบทบต้นทุนนี้เป็การเทรดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลายคนคงใช้วิธีการเข้าเทรดด้วยรูปแบบนี้ แต่วาง Stop loss ตามระยะห่างของแต่ละออร์เดอร์

ตัวอย่างเช่น

ออร์เดอร์แรกเข้า Buy ที่ราคา 50 บาท มี Stop loss ที่ราคา 20 บาท
ออร์เดอร์ที่สอง เข้า Buy ที่ราคา 45 บาท มี Stop loss ที่ราคา 15 บาท
ออร์เดอร์ที่สาม เข้า Buy ที่ราคา 40 บาท มี Stop loss ที่ราคา 10 บาท

ตามตัวอย่างข้างต้น วิธีการตั้ง Stop loss แบบนี้ไม่ใช่วิธีที่ดี เพราะเราก็รู้ว่ารูปแบบการเทรดแบบทบต้นเราต้องการกำไรสูงสุดแล้วขาดทุนต่ำสุดกว่าระบบอื่นๆ แต่ถ้าเราวาง Stop loss แบบนี้ กำไรอาจจะสูงสุด แต่ขาดทุนคงไม่แตกต่างจากรูปแบบการเทรดทั่วๆไป


วิธีวาง Stop loss ที่ดีสำหรับรูปแบบการเทรดแบบทบต้นทุน คือใช้ Stop loss ตำแหน่งเดียวกันกับออร์เดอร์แรกทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น
ออร์เดอร์แรกเข้า Buy ที่ราคา 50 บาท มี Stop loss ที่ราคา 20 บาท
ออร์เดอร์ที่สอง เข้า Buy ที่ราคา 45 บาท มี Stop loss ที่ราคา 20 บาท
ออร์เดอร์ที่สาม เข้า Buy ที่ราคา 40 บาท มี Stop loss ที่ราคา 20 บาท


2.1.2. ความได้เปรียบของรูปแบบการเทรดแบบทบต้นทุน
ผมมีเงินอยู่ 1000 บาท ต้องการซื้อหุ้นเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100 บาท ต้นนี้ราคาหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 5 บาท ผมตัดสินใจซื้อหุ้นไปเป็นจำนวน 6 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 30 บาท เวลาผ่านไปราคาหุ้นอยู่ที่ 4 บาท ได้ทำการซื้อรอบ 2 ผมได้ทำการซื้อมาทั้งหมด 8 หุ้น เป็นจำนวน 32 บาท เวลาผ่านไป ราคาหุ้นอยู่ที่ 3 บาท จึงได้ทำการซื้อหุ้นรอบ 3 ซื้อมาทั้งหมด 19 หุ้น จำนวนเงิน 57 บาท

รวมทั้งสิ้นผมซื้อหุ้นตัวนี้เป็นจำนวนเงิน 99 บาท ไม่เกิน 100 บาท ตามที่ผมตั้งใจไว้


ผมคิดว่าถ้าหุ้นตัวนี้ขึ้นมาถึง 20 บาท ผมจะทำการขายหุ้นทั้งหมดถือเป็นการ Take Profit
แต่ถ้าหุ้นตัวนี้ลงต่อมาจนถึงราคาหุ้นละ 1 บาท ผมก็จะทำการขาดทั้งหมดเพื่อเป็นการตัดขาดทุน Stop Loss

กรณีได้กำไร
หุ้นที่ซื้อรอบที่ 1 ขายได้ 120 บาท ได้กำไร 90 บาท
หุ้นที่ซื้อรอบที่ 2 ขายได้ 160 บาท ได้กำไร 128 บาท
หุ้นที่ซื้อรอบที่ 3 ขายได้ 380 บาท ได้กำไร 323 บาท
รวมกำไรทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงิน 541 บาท

กรณีได้ขาดทุน
หุ้นที่ซื้อรอบที่ 1 ขายได้ 6 บาท ขาดทุน -24 บาท
หุ้นที่ซื้อรอบที่ 2 ขายได้ 8 บาท ขาดทุน -24 บาท
หุ้นที่ซื้อรอบที่ 3 ขายได้ 19 บาท ขาดทุน -38 บาท
รวมขาดทุนทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงิน -86 บาท


2.1.3. ความเสียเปรียบของรูปแบบการเทรดแบบนัดเดียว
ผมมีเงินอยู่ 1000 บาท ต้องการซื้อหุ้นเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100 บาท ต้นนี้ราคาหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 5 บาท ผมตัดสินใจซื้อหุ้นไปเป็นจำนวน 20 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 100 บาท

รวมทั้งสิ้นผมซื้อหุ้นตัวนี้เป็นจำนวนเงิน 100 บาท ไม่เกิน 100 บาท ตามที่ผมตั้งใจไว้

ผมคิดว่าถ้าหุ้นตัวนี้ขึ้นมาถึง 20 บาท ผมจะทำการขายหุ้นทั้งหมดถือเป็นการ Take Profit
แต่ถ้าหุ้นตัวนี้ลงต่อมาจนถึงราคาหุ้นละ 1 บาท ผมก็จะทำการขาดทั้งหมดเพื่อเป็นการตัดขาดทุน Stop Loss


กรณีได้กำไร
ขายหุ้นทั้งหมดออกเป็นจำนวนเงิน 400 บาท ได้กำไร 300 บาท
รวมกำไรทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงิน 300 บาท

กรณีได้ขาดทุน
ขายหุ้นทั้งหมดออกเป็นจำนวนเงิน 20 บาท ขาดทุน -80 บาท
รวมขาดทุนทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงิน -80 บาท


จากตัวอย่างข้อที่ 2.1.2. กับข้อที่ 2.1.3. เห็นได้ว่าในเวลาที่ขาดทุนจะขาดทุนเท่าๆกัน หรือก็ไม่แตกต่างกันมาก แต่ตอนที่ได้กำไรจะแตกต่างกันเกือบ 1 เท่าเลยก็ว่าได้