วันนี้ป้าจะมาพูดถึงอาชีพใหม่ ที่ว่าใหม่เพราะป้าเพิ่งจะเริ่มได้ยินเมื่อ สัปดาห์ก่อนเองค่ะ อาชีพนี้ชื่อว่า Venture Capitalist ป้าก็งงอยู่ ก็เลยไปสืบค้นดูก็ได้ความว่า Venture Capitalist
VC DREAM
(ค้นจาก https://goodmorningholding.wordpress.com/2014/05/21/vcdream/)
คนที่ทำธุรกิจในสิ่งที่ตัวเองรักถือว่าโชคดีแล้วหล่ะ แต่ถ้าใครเป็นคนขี้เบื่ออยากเจอหลายรสชาด ชอบความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้เรื่องราวของหลายๆธุรกิจ ครั้นจะให้ลงมือทำเองไปเสียทุกอย่าง ชีวิตนี้ก็คงยาวไม่พอ Venture Capitalist คืออาชีพที่น่าสนใจมากในสายตาผมทำไมGoodMorning Holding ต้องเป็น Holding company ด้วย ?
คำถามนี้โดนถามประจำ ผมอยากมีธุรกิจที่มันแปลกๆ ไม่ธรรมดา จำนวนมากอยู่ภายใต้มือเรา ไอเดียดีดีสามารถเกิดขึ้นบนโลกนี้ได้อีกมาก แต่ขาดbackหนุนให้มันเกิดขึ้นได้ , VCs (Venture Capitalist) และ Angel*** ก็คือ แหล่งที่พึ่งทางการเงินของเหล่า Start Up ที่มีไฟแรงทั้งหลายไงล่ะ แต่การจะเป็นVCs นั้นไม่ง่ายเลย
***Angel ก็คล้ายๆกับ VCs แต่ต่างกันที่ Size & State of Investment จะอยู่ในช่วง Early State
แต่การจะเป็น VCs นั้นไม่ง่ายเลย ถ้าใครดู Shark Tank (หรือฝั่ง u.k. ก็มี Dragons Den) เค้าจะเอา VCs 5 คนมานั่งดูEntrepreneurเอาธุรกิจมาเสนอต่อหน้าแล้วตัดสินใจลงทุนกันตรงนั้นเลย ในรายการเค้าเรียกกรรมการ 5 คนที่เป็น VCs ว่า “Shark” , และพวกSharkแต่ละคนที่เอาเข้ามานั้นไม่ใช่พวกทายาทธุรกิจ แต่เค้าเลือกมาจากพวก Self-made millionaire ทั้งหมด , VCs จึงควรจะเป็นคนที่ proof ตัวเองมาแล้วว่า มายืน ณ จุดนี้ได้ด้วยความสามารถล้วนๆ ซึ่งควรจะต้องมี Successful Business มาก่อน
ที่จริงแล้วการเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นก็offerโอกาสการได้ลงทุนกับบริษัทที่หลากหลายนะ แต่ Venture Capitalist มีที่สิ่งน่าตื่นเต้นกว่าตรงที่
1. มันมีบริษัทตัวเลือกเยอะกว่าในตลาดหุ้น พวกบริษัทที่เราชอบจริงๆในตลาดหลักทรัพย์มันมีไม่กี่ตัวที่เป็น long term growth stock ที่น่าสนใจ นอกนั้นก็เป็นพวก business model ที่ไม่ค่อยหวือหวา
2. มันใช้กึ๋นทางbusinessจริงๆไง ตัดเรื่องการmanipulateราคาหุ้นออกไป ตัดการวิเคราะห์ด้วยกราฟ คือวัดกันด้วยฝีมือการมองเกมตรงๆเลย ถ้าบริษัทที่เราลงทุนมันเกิด success ขึ้นมาจริงๆ มูลค่าของกิจการก็เพิ่มขึ้นไปตามนั้นเลยจบ คนเล่นหุ้นนะ บางทีรู้ตื้นลึกหนาบางในเกมธุรกิจนิดเดียวเอง แต่มันได้กำไรเพราะอย่างอื่นมีถมเถ แต่ขอบอกเลยว่าเกิดมาชีวิตนี้ขอเลือกทางเดินที่มัน Cool แม้ว่าจะลำบากกว่า
3. ความรู้สึกในการได้เป็นเจ้าของธุรกิจมันมีมากกว่า คิดดูเวลาเราถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตัวนึงนะ เรากล้าพูดได้เต็มปากไหมที่จะบอกว่าเราเป็นเจ้าของกิจการนี้ คือขนาดของกิจการที่จดทะเบียนในตลาดมันใหญ่มากแล้ว แล้วคิดดูสัดส่วนที่เราถือมันไม่มีความหมายอะไรกับบริษัทหรือ ไม่มีใครเค้าแคร์ผู้ถือหุ้นตัวเล็กๆอย่างเราทั้งนั้นแหละ แต่ VCs และ Angel คือคนที่เข้าไปเจอบริษัทตั้งแต่วันที่ยังเป็นวุ้นอยู่ มูลค่ามันยังเล็กมาก เราจึงมีสัดส่วน%ถือครองมากอย่างมี Significant ยิ่งถ้า > 51% คือเรา control ทิศทางของธุรกิจได้ สามารถให้คำปรึกษา ใช้สิทธิยับยั้งการกระทำที่ไม่เข้าท่า เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในหลายๆอย่า มันน่าภูมิใจกว่า
Venture Capital คืออะไร
(ค้นจาก http://www.khaokla.com/thai/KSME_Venture_Capital.aspx)
ผมขออธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ ละกันนะครับVenture Capital หรือภาษาไทยเรียกว่าการร่วมลงทุน แปลอีกทีว่าเป็นการนำเงินลงทุนเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท เปรียบเสมือนกับการที่นึกอยากจะเปิดบริษัทซักบริษัทนึงหรืออาจจะต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในการดำเนินธุรกิจนี่แหละครับ แต่เงินตัวเองอาจจะมีไม่พอจึงจะต้องไปชวนเพื่อนๆ ญาติๆ หรือนักลงทุนอื่นๆ เอาเงินมาลงทุนด้วยและคนเหล่านี้ก็จะได้เป็นหุ้นของบริษัทที่ลงทุนไว้ เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไรก็แบ่งกันตามสัดส่วนการถือหุ้น
นักลงทุนที่เป็น Venture Capital ไม่ได้ต้องการถือหุ้นของบริษัทเราไปตลอดนะครับ ส่วนใหญ่เมื่อลงทุนไปแล้วระยะหนึ่งประมาณ 3-5 ปี ขึ้นไป เค้าก็จะถอนตัวออกแล้วครับ ความคาดหวังของพวกนี้คือต้องการให้บริษัทที่เค้าเข้าไปลงทุนสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ และก็จะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ พูดง่ายๆ ก็คือ เค้าคาดหวังกำไรจากการลงทุนเยอะๆ นั่นเอง แต่ถ้าบริษัทที่ลงทุนไปนั้นไม่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ เค้าก็จะขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นคืนโดยราคาหุ้นที่จะซื้อคืนอาจจะมีการตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมลงทุนซึ่งก็ยังคงเป็นอัตราผลตอบแทนในระดับที่สูงอยู่ดี
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า High Risk High Return ใช่มั๊ยครับ การลงทุนของ Venture Capital เป็นแบบที่ว่านี่แหละครับ การที่พูดว่าความเสี่ยงสูงนี้เกิดจากการลงทุนที่ไม่ได้รับหลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆ เลยแม้แต่อย่างเดียว จะได้รับก็เฉพาะใบหุ้นของบริษัทเท่านั้น ดังนั้นถ้าบริษัทนั้นเกิดไม่ดีตามที่วิเคราะห์ ทำไปทำมาเกิดเจ๊งขึ้นมาก็จะทำให้เงินลงทุนที่เข้าไปร่วมหุ้นนั้นสูญไปทันที จุดนี้เองที่ทำให้ Venture Capital ต้องทำการวิเคราะห์บริษัทอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะนำเงินไปลงทุน และทำให้ต้องคาดหวังอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในประเภทอื่น
ผมเคยได้รับฟังความคิดเห็นจากเจ้าของกิจการมาหลายท่านที่มักจะชอบนำอัตราผลตอบแทนที่ Venture Capital ต้องการไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารว่า ช่วงที่ดอกเบี้ยของธนาคารต่ำก็ควรจะลดอัตราผลตอบแทนที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืนให้บ้าง แต่ถ้าจำเนื้อความได้จากย่อหน้าที่แล้วจะมีจุดที่แตกต่างกันอยู่ที่ทำให้ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ครับ การลงทุนของ Venture Capital ไม่ได้รับหลักทรัพย์ใดๆ เป็นการค้ำประกันเลยถ้าบริษัทที่เข้าร่วมลงทุนเกิดปิดขึ้นมาก็สูญทันที ซึ่งต่างจากของธนาคารโดยสิ้นเชิงที่ได้รับหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มๆ และครอบคลุมวงเงินที่กู้ยืมมาทั้งหมดอยู่แล้ว หากเกิดความผิดพลาดปิดกิจการขึ้นมาก็ยังสามารถนำหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันไปขายทอดตลาดได้เงินกลับมาอยู่ดี จำไว้ครับว่า “High Risk High Return” เห็นมั๊ยครับ Concept ง่ายๆ มีเพียงเท่านี้เองครับ
ทั้งนี้ เพื่อให้ดูเป็นทฤษฎีขึ้นมานิดนึง ผมจึงได้ทดลองนำข้อมูลจากสารานุกรมต่างประเทศมาลองให้อ่านกันดังนี้ครับ “Venture Capital เป็น Private Equity Capital ประเภทหนึ่งหรือ ซึ่งเป็นการลงทุนโดยนักลงทุนภายนอก เพื่อลงทุนในกิจการที่เกิดใหม่และอยู่ในช่วงของการเติบโต โดยทั่วไปนั้น การลงทุนจะอยู่ในรูปแบบของการซื้อหุ้นของกิจการดังกล่าวด้วยเงินสด ดังนั้นการลงทุนในลักษณะที่เป็น Venture Capital จึงมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงในระดับที่ยอมรับได้เช่นกัน และด้วยสัดส่วนที่ลงทุนไปนั้น Venture Capitalist จึงสามารถมีสิทธิออกเสียงในการตัดสินใจในที่ประชุมได้ แต่ทั้งนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับนโยบายการร่วมลงทุนด้วยว่า Venture Capitalist นั้นต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารในกิจการด้วยหรือไม่ หรือต้องการลงทุนในฐานะที่เป็น Financial Investor เท่านั้น ซึ่งฐานะดังกล่าว Venture Capitalist จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใน Day-to-Day Operation ของกิจการ เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนแบบ Passive แต่อาจจะอยู่ในฐานะของที่ปรึกษาโดยเป็นการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารและทางเทคนิคให้กับกิจการ
Venture Capital Fund หรือกองทุนร่วมลงทุน อาจเป็นการลงทุนจากนักลงทุนหลายๆกลุ่ม ซึ่งโดยมากจะเฉพาะเจาะจง และจะลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงเกินกว่ามาตรฐานของการให้สินเชื่อของธนาคารหรือตลาดทุน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว Venture Capital จะมาจากกลุ่ม Wealthy Investors (คนมีตังค์) วาณิชธนกิจ (Investment Bank) และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมลงทุนกันในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต
รูปแบบการลงทุนแบบ Venture Capital นี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่นิยมสำหรับกิจการที่เพิ่งเริ่มจัดตั้งและมีประวัติการดำเนินงานไม่นานนัก ซึ่งไม่สามารถที่จะระดมทุนผ่านทางการออกตราสารหนี้ได้”
ปิยวัฒน์ รุ่งธนาภิรมย์ – เรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น